|
วิสัยทัศน์ |
เป็นองค์กรนำด้านการมาตรฐานของไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล |
Leading and internationally recognized Thai standardizing organization |
|
นโยบาย |
มุ่งมั่นดำเนินงานด้านการมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและประเทศชาติโดยรวม |
|
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน |
1. คุ้มครองผู้บริโภค |
2. รักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ |
3. พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก |
4. สร้างความเป็นธรรมในการซื้อขายขจัดปัญหา และอุปสรรคทางการค้าที่เกิดจากมาตรการด้านมาตรฐาน |
|
อำนาจหน้าที่ |
สมอ. มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 มติคณะรัฐมนตรี นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนแม่บทของกระทรวงอุตสาหกรรม |
|
พันธกิจ |
1. ส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐานของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล |
2. กำหนดมาตรฐานที่ตรงความต้องการและสอดคล้องกับแนวทางสากล |
3. สร้างความเชื่อมั่นในการตรวจสอบรับรอง และกำกับดูแลผลิตภัณฑ์และบริการ |
|
ค่านิยม / วัฒนธรรม สมอ. |
| Trustworthiness | การสร้างความเชื่อมั่น | | Integrity | การมีคุณธรรมและจริยธรรม | | Sustainability | ความยั่งยืน | | Internationalization | ความเป็นสากล | |
|
คำขวัญ |
สมอ. เคียงคู่เศรษฐกิจไทย ใส่ใจผู้บริโภค |
Better lives, Better economy |
|
กิจกรรมด้านการมาตรฐานของ สมอ. |
1. การกำหนดมาตรฐาน |
1.1 มาตรฐานระดับประเทศ |
กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ประเภทบังคับและไม่บังคับตามความต้องการ และการขยายตัวของอุตสาหกรรม การค้า และเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมไทยแข่งขันได้ในตลาดโลก |
1.2 มาตรฐานระดับสากล |
ร่วมกำหนดมาตรฐานกับองค์กรสากลที่สำคัญคือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for standardization : ISO) คณะกรรมาธิการระว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์ (International Electrotechnical Commission : IEC) |
|
2. การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ |
2.1 การรับรองตามมาตรฐานของประเทศ |
สมอ. ให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยการอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน จำนวน 2 แบบ คือ |
|
| เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป | เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ | |
|
2.2 การรับจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ |
สมอ. ให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ยังมิได้กำหนดมาตรฐาน โดยการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี |
2.3 การเป็นหน่วยตรวจให้กับสถาบันมาตรฐานต่างประเทศ |
สมอ.ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยตรวจของสถาบันมาตรฐานต่างประเทศ เพื่อรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น (JIS MARKS) ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา และประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ยังตรวจติดตามผลให้กับประเทศสาธารณรัฐอาฟริกาใต้ (SABS) ด้วย |
2.4 การรับรองฉลากเขียว (Green Label) |
สมอ. ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยดำเนินโครงการฉลากเขียวเพื่อให้การรับรอง โดยให้ใช้ฉลากเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อช่วยลดมลภาวะจากสิ่งแวดล้อม และเพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยี หรือวิธีการผลิต ที่ให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย |
|
|
|
3. การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) |
เป็นการให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ผลิตในชุมชนที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันประกอบกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่ง หรือชุมชนในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือกจากจังหวัด และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ประกาศกำหนดไว้ และจะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง |
|
|
|
4. การรับรองระบบงาน |
4.1 การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ |
สมอ. ได้ดำเนินการรับรองขีดความสามารถทางวิชาการ และระบบคุณภาพ การทดสอบของห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบ (มอก.17025-2543) ซึ่งเหมือนกันทุกประการกับ ISO/IEC 17025 ซึ่งขอบข่ายของการรับรองอาจเป็นการรับรองการทดสอบหรือสอบเทียบทุกรายการหรือบางรายการของห้องปฏิบัติการก็ได้ |
4.2 การจดทะเบียนบุคลากร ผู้ทรงคุณวุฒิ หลักสูตรและองค์กรฝึกอบรมด้านการมาตรฐาน |
เป็นการให้การจดทะเบียนบุคลากร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินการจดทะเบียนหลักสูตรผึกอบรมและองค์กรฝึกอบรมด้านการมาตรฐานในกลุ่มสาขาต่าง ๆ ได้แก่ ระบบการบริหารงานคุณภาพ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร ระบบห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระบบการรับรองผลิตภัณฑ์และระบบอื่น ๆ ตามมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานอื่น ๆ ที่สากลยอมรับ |
|
5. การบริการข้อสนเทศมาตรฐาน |
5.1 บริการข้อสนเทศด้านการมาตรฐาน |
โดยให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามทางวิชาการเกี่ยวกับมาตรฐาน กฎระเบียบทางวิชากากร และการรับรองคุณภาพทั้งของไทยและต่างประเทศ |
5.2 เป็นศูนย์ตอบข้อซักถาม |
(Enquiry Point) ของไทย ภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า(TBT) ขององค์การการค้าโลก(WTO) |
5.3 บริการข้อมูลด้านการมาตรฐานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ http://www.tisi.go.th |
5.4 บริการห้องสมุดมาตรฐาน สมอ. |
โดยเป็นศูนย์รวมเอกสารมาตรฐานทั้งของไทยและของต่างประเทศ ตลอดจนเอกสารทางด้านการรับรองคุณภาพ กฎระเบียบทางวิชาการและเอกสารอื่น ๆ ที่ครบถ้วนและทันสมัยทั้งในรูปของเอกสารและไมโครฟิล์ม |
|
6. การปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก |
สมอ. เป็นแกนกลางในการปฏิบัติตามพันธกรณีตามมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade : TBT) ยกเว้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหาร |
|
7. งานด้านการมาตรฐานระหว่างประเทศและภูมิภาค |
7.1 กิจกรรมมาตรฐานระหว่างประเทศ สมอ. |
ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization :ISO) และคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์(International Electrotechnical Commission : IEC) นอกจากนี้ยังได้ร่วมดำเนินงานกับ Internaional Personal CertificationAssociation IPC ด้านการรับรองหน่วยงานที่ให้บริการฝึกอบรมและขึ้นทะเบียนบุคลากรด้านตรวจประเมินรวมทั้งร่วมดำเนินการรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบกับ International Laboratory Accreditation Conference ILAC |
7.2 กิจการมาตรฐานภูมิภาค สมอ. |
ได้เข้าร่วมกิจกรรมงานด้านมาตรฐาน และการรับรองในส่วนภูมิภาคกับASEAN Consultative Committee for Standards and Quality ACCSQ และ Asia PacificEconomic Cooperation :Standards and conformance Sub-Committee (APEC/CTI/SCSC) นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่ม Pacific Area Standards Congress PASC |
|
8. การส่งเสริมมาตรฐานและพัฒนาด้านการมาตรฐาน |
สมอ. ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐพัฒนาระบบการจักการให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติมาตรฐานสากล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรม และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ และส่งเสริมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจแก่ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพ และการมาตรฐาน และนำไปใช้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ |
|
9. การพัฒนาบุคลากร |
สมอ. ได้ดำเนินการพัฒนาบุคลากรด้านการมาตรฐานทั้งภาครัฐ และเอกชนให้มีขีดความสามารถที่จะดำเนินการด้านมาตรฐาน ให้สอดคล้องกับสากล และเป็นที่ยอมรับ |
|