หน่วยงานรับผิดชอบ (ตามมาตรา 30 ของพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551)

    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ที่บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีหน่วยงานของรัฐ ดําเนินการเกี่ยวกับการมาตรฐานในเรื่องใดอยู่แล้ว ให้คณะกรรมการมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐนั้นเป็น หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการมาตรฐานในเรื่องนั้น และให้มีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการเฉพาะด้านตามมาตรา 13”

    เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2553 ในการประชุมครั้งที่ 2-1/2553 คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช.) ได้มีมติมอบหมายหน่วยงานของรัฐที่ดําเนินการด้านการรับรองระบบงาน 3 แห่ง เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ดังนี้

    1. สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    1.1. การรับรองระบบงานหน่วยรับรองระบบความปลอดภัยของอาหาร
    1.2. การรับรองหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดี

    2. กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

    2.1. การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบ
    2.2. การรับรองผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญ (Proficiency Testing Provider)
    2.3. การรับรองผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง (Reference Material Producer)

    3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) กระทรวงสาธารณสุข

    3.1. การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบสาธารณสุขและการแพทย์
    3.2. การรับรองผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง (Reference Material Producer)
    3.3. หน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนแห่งชาติ ในการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการตามหลักปฏิบัติที่ดีของห้องปฏิบัติการ (Good Laboratory Practice, GLP)
    (มติเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561)(หมายเหตุ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561 ในการประชุมครั้งที่ 8-1/2561 กมช. ได้มีมติมอบหมายให้ วพ. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบกํากับดูแล
    การตรวจประเมินห้องปฏิบัติการตามหลักปฏิบัติของ GLP ในฐานะหน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนแห่งชาติ ครอบคลุมขอบข่าย 1) ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม 2) ผลิตภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืช 3)
    ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง 4) ยาสําหรับสัตว์ 5) สารปรุงแต่งอาหาร 6) สารปรุงแต่งอาหารสัตว์ 7) สารเคมี อุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์อื่นที่จะมีแก้ไขและเพิ่มเติมในภายหลัง)



การยอมรับผลการตรวจสอบและรับรอง (Mutual Recognition Agreement, MRA)
จากองค์การรับรองระบบงานในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ

ผลการตรวจสอบและรับรองจากประเทศไทยเป็นที่ยอมรับจากองค์การรับรองระบบงานในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยผ่านกลไกข้อตกลงการยอมรับร่วม ซึ่งประเทศไทย
ได้เข้าร่วมดังต่อไปนี้

ลำดับหน่วยรับรองระบบงานระดับภูมิภาคระดับระหว่างประเทศ
1  สำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (สก.)/สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.)เว็บไซต์: https://www.tisi.go.th/accreditation/en
APAC MRA

  1. ระบบบริหารงานคุณภาพ
  - ISO/IEC 17021-1 (10 พฤศจิกายน 2543)
  2. ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
   - ISO 14001 (27 พฤศจิกายน 2546)
  3. การรับรองผลิตภัณฑ์
  - ISO/IEC 17065 (17 มิถุนายน 2553)
  4. ระบบการจัดการพลังงาน
   - ISO 50003 / ISO 50001 (21 มิถุนายน 2560)
  5. การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบ/สอบเทียบ
   ISO/IEC 17025 (25 ตุลาคม 2544)
  6. การรับรองหน่วยตรวจ
  ISO/IEC 17020 (9 ธันวาคม 2552)
IAF MLA

  7. ระบบบริหารงานคุณภาพ
  - ISO/IEC 17021-1 (10 พฤศจิกายน 2543)
  8. ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
   - ISO 14001 (27 พฤศจิกายน 2546)
  1. การรับรองผลิตภัณฑ์
  - ISO/IEC 17065 (17 มิถุนายน 2553)
  2. ระบบการจัดการพลังงาน
   - ISO 50003 / ISO 50001 (21 มิถุนายน 2560)

ILAC MRA

  1. การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบ/สอบเทียบ
   ISO/IEC 17025 (3 พฤศจิกายน 2544)
  2. การรับรองหน่วยตรวจ
  ISO/IEC 17020 (24 ตุลาคม 2555)
2  กองรับรองมาตรฐาน (กรร.)/สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เว็บไซต์: https://www.acfs.go.th
APAC MRA

  1. การรับรองผลิตภัณฑ์
  - ISO/IEC 17065 (17 มิถุนายน 2553)
  2. ระบบความปลอดภัยอาหาร (FSMS)
   - ISO 22003 / ISO 22000
IAF MLA

  1. การรับรองผลิตภัณฑ์
  - ISO/IEC 17065 (16 กันยายน 2553)
  2. ระบบความปลอดภัยอาหาร (FSMS)
   - ISO 22003 / ISO 22000 (8 ธันวาคม 2559)
3  สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ (บร.)/กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)เว็บไซต์: https://www.dss.go.th
APAC MRA

  1. การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบ
  - ISO/IEC 17025 (22 พฤษภาคม 2549)
  2. การรับรองผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญ
   - ISO/IEC 17043 (17 มิถุนายน 2558)
  3. การรับรองผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง
  - ISO 17034 (17 มิถุนายน 2558)
ILAC MRA

  1. การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบ
  - ISO/IEC 17025 (23 สิงหาคม 2549)
  2. การรับรองผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญ
   - ISO/IEC 17043 (7 ตุลาคม 2562)
4  สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ (สมป.)/กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.)เว็บไซต์: https://blqs.dmsc.moph.go.th
APAC MRA

  1. การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสาธารณสุขหรือด้านคุ้มครองผู้บริโภค
  - ISO/IEC 17025 (14 พฤศจิกายน 2545)
  2. การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์หรือชันสูตรสาธารณสุข
   - ISO 15189 (18 เมษายน 2550)
  3. การรับรองผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง
  - ISO 17034 (17 มิถุนายน 2558)
ILAC MRA

  1. การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสาธารณสุขหรือด้านคุ้มครองผู้บริโภค
  - ISO/IEC 17025 (4 เมษายน 2546)
  2. การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์หรือชันสูตรสาธารณสุข
   - ISO 15189 (18 เมษายน 2550)

OECD GLP MAD

  1. การยอมรับร่วมในข้อมูลการประเมินสารเคมี (Mutual Acceptance Data)
   (ตุลาคม 2562)
หมายเหตุ
1. องค์การภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการรับรองระบบงาน (Asia Pacific Accreditation Cooperation, APAC)
2. องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงาน (International Accrediatation Forum, IAF)
3. องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ (International :abpratory Accreditation Cooperation, ILAC)
4. องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (Organization for Economic and Development, OECD)
สถิติผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ เริ่มนับ 10 พ.ค. 2565