ความร่วมมือกรอบอาเซียน
ความร่วมมือด้านมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองของอาเซียนเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2535 ตามความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area) ที่มีเป้าหมายในการอำนวยความสะดวกทางการค้าโดยการขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 24เมื่อเดือนตุลาคม 2535 จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพของอาเซียน (ASEAN Consultative Committee for Standards and Quality – ACCSQ) ขึ้นเพื่อดำเนินการขจัดอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี
ต่อมาในปี 2546 ที่ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) โดยในส่วนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีเป้าหมายให้เกิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้าและบริการ การลงทุน และมุ่งจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตเดียวกัน
บทบาทของ ACCSQ ในการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสินค้าเสรีและอำนวยความสะดวกในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน คือการขจัดอุปสรรคทางการค้าซึ่งไม่ใช่มาตรการในด้านภาษี (Non-Tariff Barriers to Trade – NTB) อุปสรรคดังกล่าวเกิดจากการที่ประเทศสมาชิกมีมาตรฐาน (standards) หรือกฎระเบียบทางเทคนิค (technical regulations) และกระบวนการตรวจสอบและรับรอง ที่บังคับใช้อยู่ในแต่ละประเทศแตกต่างกันจึงมีผลให้สินค้าของประเทศสมาชิกอื่นไม่สามารถที่เข้าไปจำหน่ายได้โดยสะดวก ในการขจัดอุปสรรคทางการค้าดังกล่าว ACCSQ ได้กำหนดมาตรการขึ้นมาใช้หลายมาตรการด้วยกัน มาตรการที่สำคัญได้แก่
1.การปรับมาตรฐาน (standards harmonization)
เป็นการปรับมาตรฐานที่ใช้แตกต่างกันอยู่ในแต่ละประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น มาตรฐาน International Organization for Standardization (ISO) สำหรับผลิตภัณฑ์ทั่วไป มาตรฐาน International Electrotechnical Commission (IEC) สำหรับบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กฎระเบียบของ The United Nations Economic Commission for Europe (UN Regulations) สำหรับยานยนต์และชิ้นส่วน
2.การจัดทำความตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangement – MRA)
เป็นการทำความตกลงเพื่อยอมรับผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของประเทศสมาชิกอื่นว่าเป็นไปตามมาตรฐานโดยไม่ต้องทำการตรวจสอบซ้ำอีก
3.การพัฒนาระบบด้านกฎระเบียบให้เป็นหนึ่งเดียวกัน (Single Regulatory Regime)
เป็นการทำให้กฎระเบียบด้านการตรวจสอบและรับรองของอาเซียนมีความสอดคล้องกัน ทั้งยังเป็นที่ยอมรับซึ่งกันและกันและได้รับการยอมรับในระดับสากล
ACCSQ ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อเป็นกลไกในการดำเนินงาน ซึ่งคณะทำงานเหล่านี้ประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยงานผู้ถือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของทุกประเทศสมาชิกร่วมกันศึกษาและหาแนวทางในการปรับมาตรฐานและกฎระเบียบให้สอดคล้องกันในอาเซียน รวมทั้งพิจารณาแนวทางในการทำความตกลงยอมรับร่วมสำหรับระบบการตรวจสอบรับรอง ประกอบด้วย
การดำเนินงานของอาเซียนตามกิจกรรมที่สำคัญข้างต้นนั้นนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งออกไปยังอาเซียน โดยอาศัยมาตรฐานและกระบวนการตรวจสอบรับรองสินค้าที่ปรับเข้าหากันและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของอาเซียน และใช้กลไกการยอมรับร่วมในผลตรวจสอบรับรองของประเทศสมาชิก ยังมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาทางการค้าที่เกิดจากการที่ประเทศสมาชิกบังคับใช้มาตรฐานและขั้นตอนการตรวจสอบรับรองสินค้าที่แตกต่างกัน อันจะเป็นการขจัดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าซึ่งส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีได้ในภูมิภาค ตลอดจนช่วยให้สินค้าของกลุ่มอาเซียนเป็นที่ยอมรับและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
ประเทศ | ชื่อหน่วยงาน/ที่อยู่ติดต่อ | Website |
---|---|---|
บรูไนดารุสซาลาม | National Standards Centre Ministry of Industry and Primary Resources Brunei Darussalam | http://www.industry.gov.bn |
กัมพูชา | Institute of Standards of Cambodia #538 National Road 2, SangkatChakAngreLeu, Khann Mean Chey, Phnom Penh, Cambodia | http://www.isc.gov.kh/en |
อินโดนีเซีย | National Standardization Agency of Indonesia (BSN) Gedung I - BPPT, 12th Floor Jl. MH Thamrin No. 8 Jakarta 10340 Indonesia | http://www.bsn.or.id |
สปป.ลาว | Department of Intellectual Property Standardization and Metrology, Science, Technology and Environment Agency (STEA) Prime Minister’s Office of Lao PDR P.O. Box 2279 Nahaidio Road, Vientiane Lao PDR | http://www.laotradeportal.gov.la/index.php?r=site/displayb&id=220 |
มาเลเซีย | Department of Standards Malaysia Century Square, Level 1 & 2 Block 2300, JalanUsahawan 63000 Cyberjaya MALAYSIA | http://www.standardsmalaysia.gov.my |
เมียนมาร์ | Myanma Scientific and Technological Research Department (MSTRD) Ministry of Science and Technology Republic of the Union of Myanmar | http://www.most.gov.mm |
ฟิลิปปินส์ | Bureau of Philippines Standards Department of Trade & Industry 361 Sen. Gil J. Puyat Ave, Makati City, Philippines | http://www.bps.dti.gov.ph |
สิงคโปร์ | SPRING Singapore 1 Fusionopolis Walk, #01-02 South Tower, Solaris, Singapore 138628 | http://www.spring.gov.sg |
เวียดนาม | Directorate for Standards, Metrology and Quality (STAMEQ) 8 Hoang Quoc Viet Rd., CauGiay District, Ha Noi Viet Nam | http://en.tcvn.vn |
สำนักเลขาธิการอาเซียน | The ASEAN Secretariat 70 A, Jl. Sisingamangaraja Kebayoran Baru 12110 Jakarta Selatan, Indonesia | http://www.asean.org/communities/asean-economic-community/category/standards-and-conformance |
คลังข้อมูลทางการค้าของไทย
(Thailand National Trade Repository)
แหล่งข้อมูลด้านการค้าสินค้าระหว่างประเทศของไทย ที่รวบรวมทั้งพิกัดและอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าของไทย และอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าที่ได้รับสิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศคู่ค้า รวมทั้งกฎระเบียบของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศและข้อมูลต่างๆ ที่จะอำนวยความสะดวกทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ