ISO เป็นองค์กรอิสระซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2490 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานและกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเป็นไปโดยสะดวก และช่วยพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ มาตรฐานที่กำหนดขึ้นเรียกว่า มาตรฐานระหว่างประเทศ (international standard)
เป็นตัวแทนทางด้านการมาตรฐานของประเทศ แต่ละประเทศจะมีหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่สมาชิก ISO เพียงหน่วยงานเดียว
เป็นหน่วยงานของประเทศซึ่งยังไม่มีกิจกรรมด้านการมาตรฐานอย่างเต็มที่ หรือยังไม่มีการจัดตั้งสถาบันมาตรฐานเป็นการเฉพาะ
เป็นหน่วยงานในประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจต่ำ สมาชิกประเภทนี้จะจ่ายค่าบำรุงสมาชิกในอัตรา ที่ได้รับการลดหย่อน
ประเทศไทยเริ่มเข้าเป็นสมาชิกสมบูรณ์ใน ISO ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติทำหน้าที่เป็นผู้แทนประเทศไทยเป็นสมาชิกสมบูรณ์ใน ISO ประเภทและได้เข้าร่วมดำเนินงานกับ ISO ทั้งทางด้านบริหารและวิชาการ ดังนี้
งานด้านบริหารประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในคณะกรรมการกำหนดนโยบาย โดยพิจารณาให้ข้อคิดเห็น และดำเนินการตอบออกเสียงให้ข้อคิดเห็น รวมทั้งส่งผู้แทนไปเข้าร่วมประชุมประจำปีและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับบรรดาสถาบันมาตรฐานต่างๆ ดังนี้
คณะกรรมการ | สถานภาพ |
---|---|
คณะกรรมการด้านการตรวจสอบรับรอง (Committee on Conformity assessment - ISO/CASCO) | P-member |
คณะกรรมการด้านนโยบายผู้บริโภค (Committee on consumer policy - ISO/COPOLCO) | P-member |
คณะกรรมการว่าด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเทศกำลังพัฒนา (Committee on developing country matters - ISO/DEVCO) | P-member |
ปัจจุบัน สมอ. ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในคณะกรรมการวิชาการ (Technical committee – TC) และคณะอนุกรรมการวิชาการ (Subcommittee – SC) ของ ISO โดยแบ่งประเภทของการเข้าร่วมเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สมาชิกประเภทร่วมทำงาน (P-member) จำนวน 90 คณะ และสมาชิกประเภทสังเกตการณ์ (O-member) จำนวน 231 คณะ
กิจกรรม ความเคลื่อนไหว ข่าวสารที่น่าสนใจ